Archive | กันยายน 13, 2010

มารู้จักข้อผิดพลาดของโปรแกรมกันดีกว่า


หลายๆคนที่เคยผ่านการเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะเป้นภาษาซี ภาษาปาสคาล หรือภาษาคอมพิวเตอรือื่น ๆ คงจะเคยเจอกับข้อผิดพลาดกันมาบ้างแล้ว ทีนี้เรามารู้จักกับข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมกันว่ามีด้วยกันอยู่ 3 ชนิด นั่นก็คือ
1.  Syntax Error  คือ ข้อผิดพลาดจากการใช้ไวยากรณ์ภาษาที่ผิด หรือ อาจเกิดจากการสะกดคำผิด
2.  Run-time Error  คือ ข้อผิดพลาดในระหว่างการปฏิบัติงาน(Execution) มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
3.  Logical Error  คือ ข้อผิดพลาดที่หาและแก้ได้ยากที่สุด ต้องทำการไล่โปรแกรมทีละคำสั่งเพื่อหาข้อผิดพลาดนั้น
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างข้อผิดพลาดของโปรแกรม Syntax Error กันนะคะ

#include<stdio.h>
void main()
{
int price
printf(“How much is that ? “)
scanf(“%d”,price);
printf(“oh! %d ?, hmmm…., too expensivenn”,price);
}
*** โปรแกรมนี้เป็นประเภท Syntax error เนื่องจากไม่มีเครื่องหมาย  ;  ***
จากนั้นให้นักเรียนหาข้อแตกต่างระหว่าง Syntax error และ Logical error ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างของ Syntax Error และ Logical Error มาด้วย

การสอบวัดผลปลายภาคเรียนที่ 1/2553


สำหรับช่วงนี้ก็คงจะเป็นช่วงสุดท้ายของการจัดการเรียนการสอนของทุกๆรายวิชากันแล้ว และเป็นช่วงที่คุณครูทุกท่านกำลังอยู่ในช่วงการออกข้อสอบกัน สำหรับครูก็เหมือนกันอยู่ในช่วงที่วุ่นสุดๆเลย เพราะต้องออกข้อสอบถึง 7 รายวิชา โดยเริ่มตั้งแต่วิชาการเขียนโปรแกรม 2 ซึ่งเป็นของพี่ ม.6 ตามมาด้วยวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก นี่ก็พี่ ม.5/2 ตามมาติดๆ สำหรับพี่ ม.4 ซึ่งมีทั้งหมด 3 รายวิชา (วิชาการงานอาชีพ,วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์และวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ) ส่วนน้อง ม.3 ก็วิชาการนำเสนอข้อมูล และท้ายสุดนั่นก็คือ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.2  ส่วนเนื้อหาที่ครูจะออกข้อสอบนั้นก็ที่พวกเราได้ทำใน “ไซต์ของตัวเอง” ซะเป็นส่วนใหญ่ งานนนี้บอกได้เลยว่าถ้าใครทำเองและทำอย่างสม่ำเสมอจะทำข้อสอบได้ ส่วนข้อสอบจะเป็นทั้งแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ปรนัยแบบเติมคำตอบสั้น และแบบอัตนัย ในบางวิชาอาจจะมีปรนัยแบบจับคู่ด้วย ทีนี้มาดูกันว่า เนื้อหาที่ครูจะออกข้อสอบน่ะมีอะไรบ้าง เริ่มจาก…

ม.6 : วิชาการเขียนโปรแกรม 2

1.ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
1.1การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
1.2การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี
1.3การดำเนินการแก้ปัญหา
1.4การตรวจสอบและปรับปรุง
2.การจำลองความคิด
2.1ข้อความหรือบรรยาย (Pseudo code)
2.2สัญลักษณ์หรือแผนภาพ (Flowchart)
3.การเขียนโปรแกรม
3.1โครงสร้างแบบลำดับ
3.2โครงสร้างแบบมีทางเลือก
3.3โครงสร้างแบบทำซ้ำ
4.โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี
5.คำสั่งรับค่าและแสดงผล

ม.5 : วิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

1.หลักการทำงานของอุปกรณ์ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
2.วิธีการวาดภาพกราฟิก 
3.การวาดภาพในพิกัด 3 มิติ  และการแสดงภาพ 3 มิติ
4.ระบบสี และการให้สีและลวดลาย ให้กับวัตถุ
5.หลักการสร้างภาพกราฟิกที่มีความซับซ้อน
6.ประเภทของคอมพิวเตอร์กราฟิก

ม.4 :
วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.หลักการพื้นฐาน และความรู้เบื้องต้นของระบบสื่อสารข้อมูล
2.รูปแบบวิธีการสื่อสาร
3.การสื่อสารแบบ Analog และ Digital
4.การใช้งานและคุณสมบัติพื้นฐานของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารประเภทต่าง ๆ
5.การสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ระยะใกล้และระยะไกล
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ LAN / WAN / Extranet
7.อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8.สถาปัตยกรรมของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ Network Topology แบบต่าง ๆ
9.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำหรับเครือข่าย และตัวอย่างระบบเครือข่ายต่าง ๆ
10.รูปแบบระบบเครือข่าย TCP/IP
11.รูปแบบระบบเครือข่ายมาตรฐานสากล (OSI Model) 7 Layers

วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ

1.หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพ 
2.การใช้โปรแกรมสำหรับงานสำนักงาน
3.การใช้อินเทอร์เน็ตและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
4.ระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

วิชาการงานอาชีพ

1.การถนอมอาหาร
2.อาหารไทย 4 ภาค
3.การประดิษฐ์ของชำร่วย >> หมอนสม๊อค , ตุ๊กตาผ้าเช็ดหน้า
4.การทำความสะอาดบ้าน
5.ผ้าและเครื่องแต่งกาย

ม.3 : วิชาการนำเสนอข้อมูล
1. ความสำคัญของการนำเสนอ
2. จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
3. ประเภทของการนำเสนอ
4. ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ
5. ประเภทของการนำเสนอข้อมูล

ม.2 : วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน

1.อัตราส่วนและร้อยละ
2.การวัด
3.แผนภูมิรูปวงกลม
4.การแปลงทางเรขาคณิต
5.ความเท่ากันทุกประการ
6.เลขยกกำลัง
7.พหุนาม

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับเนื้อหาที่ครูจะออกข้อสอบปลายภาค คงจะไม่ยากเกินไปใช่ไหมคะ ถ้าหากพวกเราอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหา ทีนี้ครูอยากจะให้พวกเราได้สรุปเนื้อหาลงใน “ไซต์ของตัวเอง”  เมนูแล้วแต่จะตั้งชื่อก็แล้วกันนะคะแต่ต้องแจ้งชื่อเมนูที่พวกเราสร้างขึ้นและลิงค์ของเมนูให้ครูทราบด้วยโดยแจ้งท้ายนี้   เช่น   สมมติว่า เราตั้งชื่อเมนูว่า “สรุปเนื้อหา”  ลิงค์ของเราก็คือ https://sites.google.com/site/efemsasmngannarucha/summary  คลิกที่นี่เพื่อแจ้ง ชื่อเมนู และลิงค์ของเมนูที่เราตั้งขึ้น
ตัวอย่าง
ชื่อ – สกุล :   ………………………………………ชั้น ………………..เลขที่…………..
ชื่อเมนูที่สรุปเนื้อหา : ……………………………………………..
ลิงค์เมนูที่สรุปเนื้อหา : …………………………………………….

มารู้จัก E-Commerce กันเถอะ


คำว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้  พอพวกเรา(นักเรียนทุกชั้น ม.4- 6)ได้รู้จักกับคำว่า E-commerce มาบ้างแล้ว ทีนี่ครูอยากให้พวกเราช่วยกันหาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ครูกำหนดให้ต่อไปนี้ กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจในด้านใดบ้าง หัวข้อที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ  ลองมาดูกันว่า E-commerce มีวิธีการทำอย่างไร (ช่วยกันอธิบายนะคะ) แล้วมีเว็บไซต์ไหนบ้างที่ให้บริการเกี่ยวกับ E-commerce ทั้งของไทยและต่างประเทศ  … เป็นยังไงกันบ้างคะ หาคำถามเจอกันไหม๊ ….