อาหารประจำถิ่นทั่วไทย


คำชี้แจง ให้นักเรียนชั้น ม. 4 ทุกคน มาช่วยกันแนะนำ อาหารที่มีในท้องถิ่นทั่วประเทศไทย คนละ 1 อย่าง และจะต้องบอกด้วยว่าอาหารชนิดนั้น ๆ เป็นเมนูอาหารของภาคไหน (ตอบลงในเว็บไซต์นี้) พร้อมทั้งบอกขั้นตอนการทำอาหารชนิดนั้นในไซต์ของตัวเอง โดยมีข้อแม้ว่าห้ามซ้ำกันในห้องเดียวกัน งานนี้มีคะแนน 100 คะแนน ถ้าทำงานสำเร็จ

ป.ล.
ถ้าจัดทำใน “ไซต์ของตัวเอง” ต้องมีอาหารอย่างน้อย 4 อย่าง (4 ภูมิภาค >> เหนือ กลาง อีสาน ใต้) โดยในการจัดทำลงในไซต์ขอให้นักเรียน เพิ่มเมนูนี้ โดยตั้งชื่ออะไรก็ได้ให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และต้องอยู่ใน วิชาการงานอาชีพ โดยมีองค์ประกอบให้ครบ อาทิเช่น ชื่อเมนูอาหาร  รูปภาพอาหาร ขั้นตอนการทำ  รวมถึงอย่าลืมบอกแหล่งที่มาจากเว็บไซต์นั้น ๆ ด้วย

73 thoughts on “อาหารประจำถิ่นทั่วไทย

  1. อาหารประจำถิ่นภาคใต้

    ผัดสะตอใส่กะปิ

    อาหารประจำภาคใต้ที่ปรุงรสจากผักพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ สะตอ ซึ่งไม่เพียงแต่คนภาคใต้เท่านั้นที่จะชอบรับประทาน สะตอยังเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไปด้วย
    สะตอ เป็นไม้พื้นเมืองของป่าธรรมชาติภาคใต้ และสะตอยังเป็นไม้ที่มีบทบาทด้านวัฒนธรรมการกินสัมพันธ์กับชีวิตทางเศรษฐกิจของชาวใต้อย่างใกล้ชิด ชาวใต้รับประทานเมล็ดสะตอเป็นอาหาร และมักจะเก็บตามป่าตามเขา ผู้ที่หาสะตอเป็นประจำจะรู้แหล่งสะตอดีและมักจะไปหาในป่าไกลจากหมู่บ้าน บางครั้งใช้เวลา 1-2 วัน เพื่อเก็บจำนวนมากมารับประทานและมาขายในตลาด ในตลาดสดแทบทุกจังหวัดของภาคใต้จะมีผักสะตอจำหน่ายเกือบตลอดปี ในหน้าฝนจะมีราคาถูก ส่วนหน้าหนาว หน้าแล้งจะพบน้อยและราคาแพง สะตอเป็นอาหารที่ชาวใต้นิยมรับประทาน ถือเป็นอาหารที่ให้รสชาติ ทำให้เจริญอาหารและนิยมใช้เป็นของฝากสำหรับญาติมิตร เพื่อแสดงถึงความห่วงใยและเอาใจใส่ ปัจจุบันชาวบ้านในภาคอื่นก็รับประทานสะตอเช่นกัน ดังนั้น สะตอจึงเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลาย และทำรายได้กับชาวใต้ในแต่ละปีไม่น้อยทีเดียว
    สะตอนับเป็นผักที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้ คำว่าสะตอ จึงเป็นคำที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาวใต้ เช่น การเรียกฉายาว่า ” กลุ่มสะตอ ” เป็นการให้ความหมายโดยนัยว่าหมายถึงกลุ่มชาวใต้ หรือชาวใต้ เรียกกระถินว่า ” สะตอเบา ” หรือ ” ตอเบา ” เพราะกระถินมีลักษณะต้นและฝักคล้ายสะตอแต่เล็กกว่า

    สะตอแกะเมล็ด
    ½ ถ้วย (300 กรัม)

    หมูติดมัน
    50 กรัม

    กุ้งชีแฮ้
    10 ตัว (250 กรัม)

    พริกชี้ฟ้าแดงหั่นตามยาว
    5 เม็ด (10 กรัม)

    กระเทียม
    2 กลีบ (10 กรัม)

    หอมแดง
    2 หัว (20 กรัม)

    กะปิ
    1 ช้อนชา (8 กรัม)

    น้ำปลา
    1 ช้อนชา (8 กรัม)

    น้ำตาลทราย
    1 ช้อนชา ( 8 กรัม)

    น้ำมะนาว
    1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

    น้ำมัน
    3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
    วิธีทำ
    1. โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ ให้ละเอียด
    2. ล้างหมูให้สะอาด หั่นชิ้นพอคำ
    3. ล้างกุ้งชีแฮ้ตัดหัวออกปอกเปลือกไว้หาง ผ่าหลัง ชักเส้นดำออก
    4. ตั้งกะทะใส่น้ำมัน ใส่เครื่องที่โขลก ผัดให้หอม ใส่หมู กุ้ง แล้วใส่สะตอ
    5. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล น้ำมะนาว ผัดพอสุกทั่ว ใส่พริกชี้ฟ้า ยกลง

  2. เป็นอาหารของภาคอีสานเองค่ะ คือ อ่อมปลาดุกนั่นเอง
    เครื่องปรุง

    – ปลาดุกอุยหนักประมาณ 300 กรัม 1 ตัว
    – น้ำปลาร้า ½ ถ้วผักชีลาว 3 ต้ต้นหอม 2 ต้น
    -มะเขือพวง ½ ถ้วย
    -มะเขือเปราะ 5 ลูก
    -ใบแมงลัก ½ ถ้วย
    -ใบชะพลู 10 ใบ
    – ข้าวเหนียวดิบแช่ให้นิ่ม 2 ช้อนโต๊ะ
    – พริกขี้หนูสด 15 เม็ดตะไคร้ 1 ต้น
    -หอมแดง 4 หัว
    -น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

    วิธีทำ
    1. ล้างปลาดุกให้สะอาดหั่นเป็นชิ้น
    2. เอาน้ำ 2 ถ้วย ตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาลงต้ม เติมน้ำปลาร้า
    3. โขลกหอมแดง พริกสด และข้าวเหนียวที่แช่น้ำให้ละเอียด ตักใส่หม้อต้มปลา ปรุงรสด้วยน้ำปลา 4. เมื่อปลาสุก ใส่มะเขือเปราะผ่าซีก ตะไคร้หั่นท่อนสั้น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบแมงลัก ต้นหอมหั่น ปิดไฟ ยกลง รับประทานกับผักชีลาว

  3. เเกงเลียง

    อาหารดั้งเดิมของไทย ใส่ผักต่างๆ ตามพื้นบ้าน ถ้าใช้แกงกับหัวปลี ใบกุยช่าย หรือ ใบกระเพรา คุณแม่ลูกอ่อนรับประทานร้อนๆ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ จัดเป็นยาขนานหนึ่ง สำหรับบางคนที่อยู่จังหวัดแถบชายฝั่งทะเลที่มีหอยแมลงภู่อยู่มาก สามารถนำหอยแมลงภู่มาแกงเป็นแกงเลียงก็ไม่ว่ากันครับ

    อุปกรณ์

    หอยแมลงภู่แกะตัวใหญ่สีแดงสด 2 ถ้วยตวง
    โครงไก่ 1 โครง
    น้ำปลาดี 1 ช้อนโต๊ะ
    ใบแมงลักเด็ดแล้ว 1 ถ้วยตวง
    น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
    พริกขี้หนูบุบ 10 เม็ด
    เครื่องปรุงน้ำพริก

    พริกไทย 15 เม็ด
    หอมแดง 3 หัวใหญ่
    กะปิดี 1 1/2 ช้อนชา
    เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
    ปลาดุกย่าง (ใช้แต่เนื้อ) 1/4 ถ้วยตวง
    โขลกเครื่องทั้งหมดให้ละเอียด จึงใส่ปลาดุกย่าง

    วิธีทำ

    ล้างหอยให้สะอาด ใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ
    นำโครงไก่มาต้มเป็นน้ำซุปไว้
    นำน้ำซุป 2 ถ้วยตวงใส่หม้อตั้งไฟ ตักน้ำพริกลงละลายพอเดือด ใส่น้ำปลา ชิมพอเค็มปล่อยให้เดือดมากจึงใส่หอยลงคนพอสุก ใส่ใบแมงลัก ใช้ทัพพีกดให้จมน้ำ ยกลง
    ตักใส่ชามบีบมะนาว โรยพริกขี้หนู รับประทานร้อนๆ
    *** อย่าต้มหอยนานเกินไป เพราะจะทำให้หอยหดตัวไม่น่ารับประทาน

ใส่ความเห็น