เริ่มต้นเขียนโปรแกรม


จากที่พวกเราได้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับอัลกอริทึมและหลักการเขียนโปรแกรมกันมาบ้างแล้ว นับจากนี้เป็นต้นไป คุณครูจะเริ่มให้พวกเราได้ทดลองเขียนโปรแกรมกันแล้ว ซึ่งการเขียนโปรแกรมเป็นสิ่งไม่ยากหากว่าเราเข้าใจหลักการและอัลกอริทึมค่ะ ครูยังเชื่อเสมอว่าลูกๆของครูทุกคนจะสามารถทำได้นะคะ โดยในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมนั้น พวกเราจำเป็นจะต้องเรียนรู้ในสิ่งต่อไปนี้
1.เริ่มต้นกับภาษาซี  (จะได้รู้ว่าภาษาซีมาจากไหนไงคะ)
2.การคอมไพล์และลิงค์ในโปรแกรมในภาษาซี
3.องค์ประกอบพื้นฐานของภาษาซี
4.คำสงวน
5.ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
6.ตัวแปร
7.ค่าคงที่
8.ตัวดำเนินการ
9.นิพจน์
โดยให้พวกเราทุกคนได้ช่วยกันทบทวนในเนื้อหาที่เราได้ร่วมเรียนรู้มาแล้วมาในสัปดาห์ก่อนๆ เกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้ 
พร้อมทั้งยกตัวอย่างการใช้งานด้วยนะ
1.คำสงวน
2.ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
3.ตัวแปร
4.ค่าคงที่
5.ตัวดำเนินการ
6.นิพจน์

จากนั้นให้พวกเราทุกคนลองเขียนคำสั่งในการแสดงข้อมูล (ตามตัวอย่างด้านล้างนี้นะคะ)

ตัวอย่างที่ 1 เป็นการเขียนโปรแกรมแสดงผลข้อมูล

#include<stdio.h>
void main()

   {    
     printf(“My name ‘s ………………..”);
}
ผลลัพธ์ที่ได้
My name ‘s ………………………..              

………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างที่ 2 เป็นการเขียนโปรแกรมรับและแสดงผลข้อมูล

#include<stdio.h>
void main()

   {    
     char   name;
     printf(“What’s your name?”); 
     scanf(“%s”,&name);
   }    
ผลลัพธ์ที่ได้
What’s your name?
………Nungning…………..   

   ……………………………………………………………………………………..
จากตัวอย่างดังกล่าวเป็นการเขียนคำสั่งให้โปรแกรมแสดงชื่อของตัวเองค่ะ  ทีนี้ให้เป็นทีของพวกเราได้ลองเขียนโปรแกรมบ้างแล้วนะคะ ลองดูสิคะว่าจะเขียนได้หรือเปล่า โดยให้พวกเราเขียนโปรแกรมต่อท้ายนี้ได้เลยนะ 
**** แต่ต้องไม่ใช้คำถามเหมือนตัวอย่างที่ครูกำหนดให้นะคะ ไม่งั้นผิดกติกาเด้อ   ****

ป.ล. งานนี้ดูดีๆนะคะ มี 2 งานนะ  เพราะฉะนั้นแล้วงานนี้มีคะแนนตั้ง 200 คะแนนแน่ะ แต่ว่าต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้นะคะ

สำหรับตัวอย่างที่ 2 พวกเราต้องดูด้วยนะคะว่า เราจะถามเกี่ยวกับอะไร แล้วจะเลือกใช้ชนิดข้อมุลใด ตัวควบคุมตัวแปรประเภทใด  ที่สำคัญ อย่าลืมศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยล่ะ อันนี้สำคัญมากนะ เพราะถ้าเราใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องแล้ว จะทำให้เราเขียนโปรแกรมผิดไปเลยจ้า…สู้สู้นะ ครูรู้ว่าพวกเราทำได้อยู่แล้วจ้า

 

65 thoughts on “เริ่มต้นเขียนโปรแกรม

  1. คำสงวน คือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้งานแตกต่างกันการประกาศค่าตัวแปรจะต้องไม่ซ้ำกับคำสงวน
    ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลใช้ในการทำงานของโปรแกรม
    ค่าคงที่ คือค่าที่กำหนดมาใช้ในดปรแกรมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตลอดการรันโปรแกรม
    ตัวดำเนินการคือ เครื่องหมายที่เชื่อมต่อกันระหว่างนิพจน์หรือตัวแปรอย่างน้อย2ตัวแปรขึ้นไปโดยที่ข้อมุลที่ถูกกระทำหรือตัวที่ถูกกระทำเราเรียนว่าโปะแรนด์
    ชนิดข้อมูลพื้นฐานคือ
    1.ชนิดตัวอักษร (Character)
    2.ชนิดจำนวนเต็ม (Integer)
    3.ชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer)
    4.ชนิดเลขทศนิยม (Float)
    5.ชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double)

    นิพจน์ในทางคณิตศาสตร์ 2+2 หรือ x-y คือตัวอย่างของนิพจน์ง่ายๆ ในภาษา C# นิพจน์คือการรวมตัวกันของ value (เช่น เลข 2) ตัวแปร (เช่น Foo) และตัวกระทำ

  2. 1.คำสงวน
    คือคำที่กำหนดขึ้นในภาษาซีเพื่อให้มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง และนำไปใช้งานแตกต่างกัน การประกาศค่าตัวแปร จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคำสงวน
    2.ตัวแปร (variable) คือชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมตั้งขึ้น เพื่อใช้เก็บค่าที่ต้องการนำมาใช้งานในการเขียนโปรแกรม เพื่อทำการประมวลผลข้อมูล โดยมีกฏในการตั้งชื่อตัวแปรดังนี้
    1. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ตัวต่อไปอาจจะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
    2. ห้ามใช้สัญลักษณ์อื่นใด ยกเว้นเครื่องหมายสตริงก์ ($) และขีดล่าง (Underscore)
    3. ตัวแปรอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่มีความหมายแตกต่างกัน
    4. ห้ามเว้นวรรคระหว่างตัวแปร
    5. ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนในภาษาซ
    ชนิดของตัวแปร char, int, float, double
    3. ชนิดข้อมูลพื้นฐาน
    ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character)
    คือข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าจำนวนเต็ม ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลขและกลุ่มตัวอักขระพิเศษใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 1 ไบต ์
    2ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer)คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ และศูนย์ ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล ขนาด 2 ไบต์
    3ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer) คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ใช้พื้นที่ในการเก็บเป็น 2 เท่าของ Integer คือมีขนาด 4 ไบต ์
    4 ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม (Float) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ขนาด 4 ไบต์
    5ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลเป็น 2 เท่าของ float คือมีขนาด 8 ไบต์
    4.ค่าคงที่ก็คือตัวแปรที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ คือกำหนดค่าไว้เท่าไหร่ เราจะเปลี่ยนค่าไม่ได้ไปตลอดโปรแกรม ซึ่งมีวิธีประกาศหลายแบบ ที่มันจะขึ้นต้นด้วย “#” เช่น #include
    5.ตัวดำเนินการ
    – ในโปรแกรมภาษาซีจะใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวเชื่อมในการเขียนโปรแกรม เพื่อหาผลลัพธ์จากการคำนวณ
    ซึ่งสามารถกระทำกับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เปอร์เซ็นต์
    – ตัวดำเนินการเปรียบเทียบในโปรแกรมภาษาซีคือเครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบในทางคณิตศาสตร์
    ผลลัพธ์จะมี 2 กรณีคือ ถ้าผลลัพธ์ถูกต้องหรือเป็นจริงจะมีค่าเป็น 1 ถ้าผลลัพธ์ผิดหรือเป็นเท็จจะมีค่าเป็น 0 ผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าค่าคงที่บูลีน (Boolean Constant) ดังนี้ 8 > 5
    ผลลัพธ์เป็นจริง ค่าคงที่บูลีนเป็น 1
    0 = 10
    ผลลัพธ์เป็นเท็จ ค่าคงที่บูลีนเป็น 0
    X > x
    ผลลัพธ์เป็นจริง ค่าคงที่บูลีนเป็น 1(เปรียบเทียบค่าตามรหัสแอสกี)
    A > B ผลลัพธ์เป็นจริง ค่าคงที่บูลีนเป็น 1
    -ตัวดำเนินการทางตรรกะในโปรแกรมภาษาซี คือเครื่องหมายที่ใช้เชื่อมเงื่อนไข 2 เงื่อนไข หรือมากกว่า 2 เงื่อนไข
    เพื่อให้การเปรียบเทียบมีความละเอียดมากขึ้น ใช้สัญลักษณ์แทนในแต่ละเครื่องหมาย ดังนี้ && จะให้ผลลัพธ์เป็นจริงเมื่อเงื่อนไขทั้งสองเป็นจริง แต่ถ้าเงื่อนไขใดเป็นเท็จ หรือทั้งสองเงื่อนไขเป็นเท็จจะทำให้ผลลัพธ์เป็นเท็จ
    || จะให้ผลลัพธ์เป็นจริงเมื่อเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็นจริง หรือเป็นจริงทั้งสองเงื่อนไข แต่ถ้าเป็นเท็จทั้งสองเงื่อนไขจะทำให้ผลลัพธ์เป็นเท็จ
    ! จะให้ผลลัพธ์เป็นจริงเมื่อเงื่อนไขหลัง not เป็นเท็จ แต่ถ้าเงื่อนไขหลัง not เป็นจริงจะทำให้ผลลัพธ์เป็นเท็จ ตัวดำเนินการ ความหมาย ตัวอย่าง
    && และ (and) Mark>=80&&mark<=100
    || หรือ (or) Score100
    ! ไม่ (not) !x&&!y
    6.นิพจน์
    คือ ตัวเลขหรือตัวอักขระ หรืออาจจะมีการนำตัวดำเนินการมากระทำระหว่างตัว
    เลขหรือตัวอักขระเช่นนิพจน์ในทางคณิตศาสตร์ 2+2 หรือ x-y คือตัวอย่างของนิพจน์ง่ายๆ ในภาษา C# นิพจน์คือการรวมตัวกันของ value (เช่น เลข 2)

  3. 2.ชนิดข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลธรรมดามีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น ได้แก่

    1จำนวนเต็ม (Integer)
    2จำนวนจริง (Float)
    3สตริง (String)
    และชนิดข้อมูลแบบซับซ้อนอีก 2 ชนิด

    ลิสต์ (List)
    ดิกชันนารี (Dictionary)
    คำว่าซับซ้อนหมายความว่าข้อมูลเหล่านี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลประเภทอื่นอยู่ภายในแล้วแต่การใช้งาน เช่น ลิสต์ของจำนวนเต็ม และดิกชันนารีของสตริง เป็นต้น ลิสต์ในที่นี้หมายถึงอาเรย์ (Array) ในภาษาอื่นนั่นเอง แต่ถ้าแบ่งประเภทใหญ่ๆ จะประกอบด้วย

    1.ตรรกกะ หรือ บูลีน (Boolean)
    2.ตัวเลข
    3.ลำดับ
    4.จับคู่

  4. ตัวแปร (Variable) คือ การจองพื้นที่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องใช้ในการทำงานของโปรแกรม โดยมีการตั้งชื่อเรียกหน่วยความจำในตำแหน่งนั้นด้วย เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ข้อมูล ถ้าจะใช้ข้อมูลใดก็ให้เรียกผ่านชื่อของตัวแปรที่เก็บเอาไว้

    ชนิดของข้อมูล
    ภาษาซีเป็นอีกภาษาหนึ่งที่มีชนิดของข้อมูลให้ใช้งานหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งชนิดของข้อมูลแต่ละอย่างมีขนาดเนื้อที่ที่ใช้ในหน่วยความจำที่แตกต่างกัน และเนื่องจากการที่มีขนาดที่แตกต่างกันไป ดังนั้นในการเลือกใช้งานประเภทข้อมูลก็ควรจะคำนึงถึงความจำเป็นในการใช้งานด้วย สำหรับประเภทของข้อมูลมีดังนี้คือ

    1. ข้อมูลชนิดตัวอักษร (Character) คือข้อมูลที่เป็นรหัสแทนตัวอักษรหรือค่าจำนวนเต็มได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข และกลุ่มตัวอักขระพิเศษใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 1 ไบต์
    2. ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม (Integer) คือข้อมูลที่เป็นเลขจำนวนเต็ม ได้แก่ จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์ ใช้พื้นที่ในการเก็บ 2 ไบต์
    3. ข้อมูลชนิดจำนวนเต็มที่มีขนาด 2 เท่า (Long Integer) คือข้อมูลที่มีเลขเป็นจำนวนเต็ม ใช้พื้นที่ 4 ไบต์
    4. ข้อมูลชนิดเลขทศนิยม (Float) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ขนาด 4 ไบต์
    5. ข้อมูลชนิดเลขทศนิยมอย่างละเอียด (Double) คือข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม ใช้พื้นที่ในการเก็บ 8 ไบต์

  5. ค่าคงที่ (Constants) คือ ค่าที่กำหนดขึ้นมาใช้ในโปรแกรม โดยค่าคงที่นี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่านั้นอีกตลอดการรันโปรแกรมนั้น ๆ เช่น
    ‘G’ เป็นค่าคงที่แบบอักขระ
    ‘Computer’ เป็นค่าคงที่แบบสตริง
    2546 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข

  6. ตัวดำเนินการ(Operator) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างนิพจน์ หรือตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป โดยที่ข้อมูลที่ถูกกระทำหรือตัวที่ถูกกระทำเราเรียกว่า โอปะแรนต์ (Operand)

  7. 1.คำสงวน หมายถึงคำหลักที่ใช้ได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้เท่านั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นตัวกำหนดชื่อที่นักเขียนโปรแกรมกำหนดขึ้นเองได้
    2.ชนิดข้อมูลพื้นฐานไพธอนมีชนิดข้อมูลอยู่หลายประเภท แต่ชนิดข้อมูลธรรมดามีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นได้แก่
    1 จำนวนเติม [integer]
    2 จำนวนจริง [fioat]
    3 สตริง [string]

    3.ตัวแปรจะเป็นชื่อที่ใช้ในการบอกจำนวนหรือปริมาณ ซึ่งสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงจำนวนได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การตั้งชื่อตัวแปร จะต้องตั้งชื่อให้แตกต่างไปจากชื่อของตัวแปรอื่นๆ
    4.ค่าคงที่ คือ ค่าที่กำหนดขึ้นมาใช้ในโปรแกรม โดยค่าคงที่นี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่านั้นอีกตลอดการรันโปรแกรมนั้น ๆ เช่น
    ‘G’ เป็นค่าคงที่แบบอักขระ
    ‘Computer’ เป็นค่าคงที่แบบสตริง
    2546 เป็นค่าคงที่แบบตัวเลข

    5ตัวดำเนินการ เครื่องหมายที่เชื่อมต่อกันระหว่างนิพจน์หรือตัวแปรอย่างน้อย2ตวแปรขึ้นไปโดยที่ข้อมุลที่ถูกกระทำหรือตัวที่ถูกกระทำเราเรียนว่าโปะแรนด์

    6.นิพจน์ หมายถึง การนำตัวแปร ค่าคงที่ มาสัมพันธ์กันโดยใช้เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นตัวเชื่อม
    #include
    void main()

    {
    char name;

    printf(“what are you like food………………..?”);
    scanf(“%s”,&name);
    }
    ผลลัพธ์ที่ได้
    what are you like food ?
    ………….I like Thai food……………..

  8. นิพจน์ (Expression) คือ ข้อคำสั่งที่ใช้กำหนดค่าของข้อมูล เช่น การบวกตัวเลข, การเปรียบเทียบข้อมูล โดยการกำหนดชื่อของตัวแปรตามด้วยเครื่องหมายที่ต้องการกระทำ(Operators) ต่อข้อมูลเป็นผลให้เกิดค่าข้อมูลใหม่ค่าหนึ่งให้กับตัวแปรเพื่อนำไปใช้งาน

ส่งความเห็นที่ นางสาว สุดารัตน์ พรมหาญ นางสาว อรสา อาจศัตรู ยกเลิกการตอบ